วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เงินตึงตัว


เงินตึงตัว
เงินตึงตัว (Tight money) คือ สถานการณ์ที่มีปริมาณเงินหมุนเวียนในท้องตลาดน้อยมาก  ในขณะที่มีความต้องการเงินกู้ยืมสูง ในสถานการณ์เช่นนี้ อัตราดอกเบี้ยจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการขยายตัวของการลงทุนและการผลิตกลับลดต่ำลง เป็นสภาพที่เงินหายาก เงินที่มีอยู่ในตลาดมีน้อยไม่พอกับความต้องการของประชาชน
สาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะเงินตึงตัว  
สามารถแบ่งได้เป็น ด้านใหญ่ ๆ คือ
1. ด้านอุปทาน
2. ด้านอุปสงค์
     1.   ด้านอุปทาน ประกอบด้วย
      1.1 การลดลงของอัตราการออม (saving ratio)
      1.2 การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์
      1.3 การเพิ่มขึ้นของการออมที่ถูกบังคับ (forced savings)
      1.4 การลักลอบนำเงินออกประเทศ
      1.5 การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ
      1.6  วิกฤตการณ์ราชาเงินทุน
2.   ด้านอุปสงค์ ประกอบด้วย
      2.1 ภาวะเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
      2.2 การกักตุนสินค้าเพื่อเก็งกำไร
      2.3 การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ



การแก้ไขภาวะเงินตึงตัวโดยใช้นโยบายเงินตึงตัว (Tight money Policy)                      
นโยบาย เงินตึงตัว   ซึ่งเป็นนโยบายของธนาคารกลางในการควบคุม    หรือลดปริมาณเงิน และเพิ่มอัตราดอกเบี้ย   เพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ   หรือเพื่อเพิ่มอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง
                มาตรการที่ทางการเลือกใช้   เพื่อแก้ปัญหาเงินตึงตัวในปี   2522    นั้น   ทางการได้มุ่งที่จะเพิ่มอุปทานของสินเชื่อ   โดยเกือบมิได้สนใจใช้มาตรการในการลดอุปสงค์ในการใช้เงินเท่าที่ควรทั้งนี้   มาตรการที่สำคัญ ๆ ได้แก่
                1. การเปิดตลาดซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล
                2. การยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศ
                3. การลดอัตราส่วนระหว่างเงินสด
                4. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์
                5. การแก้ปัญหาสภาพคล่องของบริษัทเงินทุน
                6. การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
                7. ยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยสูงสุด
เงินผ่อนคลาย   (Easy Money )
เป็น ภาวะทางการเงินที่ประนีประนอมกัน  ไม่ใช้วิธีการรุนแรง เกิดขึ้นหลังจากภาวะเงินตึงตัว  เมื่อภาวะเงินตึงตัวเกิดขึ้นและได้ถูกแก้ไข ทำให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น สภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เหมาะสมไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทำให้ผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้ได้อย่างไม่ลำบาก  จึงก่อให้เกิดการผ่อนคลายทางการเงิน ตัวอย่าง ในประเทศไทยเมื่อปี 2540 เกิดภาวะเงินตึงตัวมากที่สุด และเมื่อผ่านมาถึง ปี 2541 สภาวะทางการเงินเริ่มดีขึ้น ทำให้ประเทศไทยเกิดภาวะเงินผ่อนคลาย (easy money) เป็นต้น





ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
Related link: www.price.moc.go.th , www.bot.or.th